มาตรการประหยัดพลังงาน

มาตรการประหยัดพลังงานปี 2565

ระบบแสงสว่าง

1.สำนักงาน

  • วันทำการเปิดไฟระหว่างการปฏิบัติงานและวันหยุดราชการให้เปิดเฉพาะเท่าที่จำเป็น
  • ปิดไฟช่วงพักเที่ยง  เวลา 00 –13.00 น.
  • ไฟฟ้าแสงสว่างภายในห้องทำงานให้เปิดช่วงที่เจ้าหน้าที่ทำงานอยู่ หากไม่มีเจ้าหน้าที่อยู่ในห้องก่อนออกจากห้องให้ปิดไฟฟ้าแสงสว่างทั้งหมด

ยกเว้น  กรณีที่มีบุคลากรปฏิบัติงานนอกเหนือจากเวลากำหนดหรือมีงานพิเศษเร่งด่วนให้เปิดไฟทำงานได้เท่าที่จำเป็น

  • ไฟฟ้าแสงสว่างตู้โชว์ให้เปิดตามเวลาปฏิบัติงานและปิดทุกดวงเมื่อหมดความจำเป็นและวันหยุดต่างๆ
  • ปิดไฟดวงที่ไม่ใช้งานและไฟฟ้าดวงที่จำเป็น หรือลดจำนวนหลอดไฟในบริเวณที่อาศัยแสงธรรมชาติได้
  • ปรับปรุงและติดต่ออุปกรณ์ประหยัดพลังงานโดยใช้หลอดไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ

2.ห้องประชุม

  • เปิดไฟก่อนการประชุม 20 นาที และช่วงการประชุม
  • เลือกขนาดห้องประชุมให้เหมาะสมกับจำนวน
  • เมื่อเลิกประชุมให้ฝ่ายเลขานุการผู้จัดปิดสวิทซ์

3.ทางเดินภายใน/นอกอาคาร รั้ว

  • เปิด ในช่วงเวลาที่จำเป็นเท่านั้น

เครื่องปรับอากาศ

1.สำนักงาน

  • วันทำการเปิด –ปิดระหว่าง

เปิดภาคเช้า เวลา  09.00 – 12.00 น.

เปิดภาคบ่าย เวลา  13.00 – 16.00 น.

ปิด เวลา  12.00 – 13.00 น.

  • ถ้าไม่อยู่ในห้องมากกว่า 1 ชั่วโมง ควรปิดเครื่องปรับอากาศ

ยกเว้น   1. กรณีมีความจำเป็นต้องปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ขอให้จัดสถานที่ทำงานเป็นการเฉพาะรวมที่เดียงกัน

             2. กรณีมีความจำเป็นต้องปฏิบัติงานนอกเหนือเวลาราชการปกติ รวมทั้งวัยหยุดราชการให้อยู่ในดุลพินิจของผู้อำนวยการหน่วยงาน

- ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมที่ 25 C  

- ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศในสำนักงานเท่ากันเพื่อให้เครื่องปรับอากาศทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

- ทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศของเครื่องปรับอากาศอย่าให้มีฝุ่นเกาะ

- อย่านำสิ่งของไปวางขวางทางลมเข้า – ออก ของเครื่องปรับอากาศเนื่องจากเครื่องจะทำงานหนักและเปลืองไฟ

- ปิดพัดลมระบายอากาศเมื่อไม่มีใครอยู่ในห้องหลังเลิกงานและวันหยัด

2.ห้องประชุม

  • เปิดเครื่องปรับอากาศก่อนเริ่มประชุมประมาณ 20-30 นาที
  • เมื่อเลิกการประชุมให้ฝ่ายเลขานุการประชุมปิดเครื่องปรับอากาศทันที

 

การประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง

1.รถยนต์ราชการ

1.1 ลดการใช้รถยนต์ส่วนกลาง โดยเฉพาะกรณีการไปราชการต่างจังหวัด ควรพิจารณาเดินทางโดยรถประจำทาง หรือ รถไฟ หรือ เครื่องบิน ตามสิทธิ์ที่ทางราชการกำหนด

1.2 กรณีใช้รถส่วนกลางไปราชการในเขตกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑล ให้พิจารณาเฉพาะในกรณีจำเป็นหรือเร่งด่วน และพยายามจัดให้เดินทางร่วมกันกรณีผู้ขอใช้รถเส้นทางเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน

1.3 การขออนุญาตใช้รถส่วนกลางไปราชการภายในเขตจังหวัดที่ตั้งสำนักงานต้องได้รับความเห็นชอบหรืออนุมัติจากผู้อำนวยการ

ยกเว้น  กรณีผู้อำนวยการไม่อยู่ให้ผู้รักษาราชการแทนในวันนั้นเป็นผู้อนุญาต

2.พนักงานขับรถยนต์

2.1 ไม่เร่งเครื่องยนต์เกินความจำเป็นในขณะออกรถหรือนำรถเข้าจอด

2.2 ขับรถด้วยความเร็วสม่ำเสมอเพื่อช่วยลดการสึกหรอ และการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง

2.3 ขับรถที่ความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

2.4 ใช้เกียร์ให้สัมพันธ์กับความเร็วรอบของเครื่องยนต์

2.5 ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งเมื่อจอดรถเป็นเวลานาน

การอนุรักษ์พลังงาน

1.ปิดสวิตช์ไฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อเลิกใช้งาน สร้างให้เป็นนิสัยในการดับไฟทุกครั้งที่ออกจากห้อง

2. เลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน ดูฉลากแสดงประสิทธิภาพให้แน่ใจทุกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อ หากมีอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 ต้องเลือกใช้เบอร์ 5

3. ปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งที่จะไม่อยู่ในห้องเกิน 1 ชั่วโมง สำหรับเครื่องปรับอากาศทั่วไป และ 30 นาที สำหรับเครื่องปรับอากาศเบอร์ 5

4. หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศของเครื่องปรับอากาศบ่อยๆ เพื่อลดการเปลืองไฟในการทำงานของเครื่องปรับอากาศ

5. ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่กำลังสบาย อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1 องศา ต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10

6. ไม่ควรปล่อยให้มีความเย็นรั่วไหลจากห้องที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ตรวจสอบและอุดรอยรั่วตามผนัง ฝ้าเพดาน ประตู ช่องแสง และปิดประตูห้องทุกครั้งที่เปิดเครื่องปรับอากาศ

7. ลดและหลีกเลี่ยงการเก็บเอกสาร หรือวัสดุอื่นใดที่ไม่จำเป็นต้องใช้งานในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ เพื่อลดการสูญเสีย และใช้พลังงานในการปรับอากาศภายในอาคาร

8. ติดตั้งฉนวนกันความร้อนโดยรอบห้องที่มีการปรับอากาศ เพื่อลดการสูญเสียพลังงานจากการถ่ายเทความร้อนเข้าภายในอาคาร หากอากาศไม่ร้อนเกินไป ควรเปิดพัดลมแทนเครื่องปรับอากาศ จะช่วยประหยัดไฟ ประหยัดเงินได้มากทีเดียว

9. ใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน ใช้หลอดผอมจอมประหยัดแทนหลอดอ้วน ใช้หลอดตะเกียบแทนหลอดไส้ หรือใช้หลอด คอมแพคท์ฟลูออเรสเซนต์

10.อย่าใช้กระดาษหน้าเดียวทิ้ง ให้ใช้กระดาษอย่างคุ้มค่าใช้ทั้งสองหน้า ให้นึกเสมอว่า กระดาษแต่ละแผ่น ย่อมหมายถึงต้นไม้หนึ่งต้นที่ต้องเสียไป