สิทธิมนุษยชนสตรี

ความหมายของสิทธิมนุษยชนสตรี

       สิทธิมนุษยชน (Human Rights) หมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐานที่ มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความเท่ าเทียมกันในแง่ศักดิ์ศรี  ความเป็นมนุษย์ และสิทธิเพื่อดำารงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี โดยไม่คำานึงถึงความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศ อายุภาษา ศาสนา และสถานภาพทางกาย และสุขภาพ รวมทั้ง ความเชื่ อทางการเมือง หรือความเชื่ออื่ นๆ ที่ ขึ้นกับพื้นฐาน ทางสังคม สิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถถ่ายทอดหรือโอนให้แก่ผู้อื่นได้  (ชะวัชชัย ภาติณธุ. กระบวนการเรียนรู้และปฏิบัติการสิทธิมนุษยชน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2548)ดังนั้น สิทธิมนุษยชนสตรี หมายถึง สิทธิในร่างกาย สิทธิในความเป็นบุคคล และสิทธิที่จะตัดสินใจอย่างเป็นอิสระด้วยตนเอง โดยความเท่าเทียมกันและไม่คำนึงถึงความแตกต่างในทุกๆ ด้านความสำคัญของสิทธิมนุษยชนสตรีสตรีจำนวนมากยังต้องเผชิญกับอุปสรรคในการจะได้รับสิทธิมนุษยชนเพิ่มขึ้น สาเหตุเพราะปัจจัยต่างๆ เช่น เชื้อชาติ ภาษา เผ่าพันธุ์ วัฒนธรรม ศาสนา ความพิการ หรือชนชั้นทางเศรษฐกิจและสังคม หรือเพราะความเป็นชนพื้นเมือง ผู้อพยพ ซึ่งรวมถึงคนงานสตรีอพยพ สตรีพลัดถิ่น หรือผู้ลี้ภัย สตรีเหล่านี้ยังอาจเสียเปรียบและถูกเบียด ถูกกีดกันออกไป เนื่องจากการขาดความรู้และการรับรู้ถึงสิทธิมนุษยชนของตน หรือจากอุปสรรคในการเข้าถึงข้อมูลและกลไกการช่วยเหลือในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิเกิดขึ้น สถานการณ์ในประเทศไทยสังคมไทยยังพบเห็นการละเมิดสิทธิสตรีอยู่เป็นประจำ แต่บางครั้งประชาชนยังไม่รู้สึกว่า คือการละเมิดสิทธิสตรี เพราะสาเหตุจากการถูกปลูกฝัง อบรม สั่งสอน หรือการตั้งเป็นกติกาของสังคมจนกลายเป็นเจตคติของสังคม ประกอบกับสตรีไทยผู้หญิงยังมีความรู้ในด้านกฎหมายน้อย สังคมไทยจึงมักไม่ค่อยให้ความสำคัญในเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ด้วยความเคยชิน ที่เคยได้พบเจอบ่อยๆ จึงไม่คิดต่อสู้หรือเรียกร้องสิทธิของตน หรือไม่รู้สึกว่าเป็นการล่วงละเมิดสิทธิ ทั้งนี้เพราะค่านิยมในสังคมไทย ที่ครอบงำให้ผู้หญิงอยู่ภายใต้อำนาจเป็นมาอย่างต่อเนื่อง ผู้หญิงไทยยังคงประสบปัญหาการล่วงละเมิดสิทธิหลายด้าน เช่นในเรื่องของความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ความรุนแรงในครอบครัว แรงงานหญิงที่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าของกิจการ หรือผู้ว่าจ้าง  โดยเฉพาะแรงงานหญิงต่างด้าว และกฎหมายหรือระเบียบบางอย่างที่จำกัดสิทธิของผู้หญิงค่านิยมวัฒนธรรมประเพณี ที่กดทับหรือเพิ่มภาระให้กับการใช้ชีวิตในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่ง
       พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กและสตรี ยุติความรุนแรงในครอบครัวจากสถานการณ์ปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ดูได้จากตัวเลขการให้บริการของศูนย์พึ่งได้ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ประจำจังหวัด 297 แห่ง พ.ศ.2550 มีเด็ก สตรี และผู้สูงอายุ ที่ถูกกระทำทารุณเข้ารับบริการจำนวน 19,068 ราย    และจากสถิติของกองวิจัยและวางแผนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่เดือนเมษายน - กันยายน พ.ศ.2551 พบว่า มีความรุนแรงต่อผู้หญิงที่มีการแจ้งความดำเนินคดีการทำร้ายร่างกาย สูงถึง 18,191 ราย และยังพบว่า ตั้งแต่ พ.ศ.2547-2550 การกระทำความรุนแรงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง    ในส่วนของมูลนิธิเพื่อนหญิง มีผู้หญิงมาขอคำปรึกษาปีละประมาณ 1,500 ราย โดยร้อยละ 80 เป็นความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กนั้นยังพบว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยกระตุ้นทำให้เกิดปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มขึ้น     มูลนิธิเพื่อนหญิงได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้วิจัยเรื่อง "ผลกระทบของสุราในฐานะปัจจัยร่วมการเกิดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว" โดยปฏิบัติงานร่วมกับเครือข่ายผู้หญิง 4 พื้นที่ ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ   ผลการวิจัยปรากฏว่าร้อยละ 70 - 80 ของกลุ่มตัวอย่างเพศชายที่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีประสบการณ์การใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กโดยการทุบตีทำร้าย และด่าทอทำร้ายด้านจิตใจ รวมทั้งการเก็บสถิติผู้ที่โทรศัพท์เข้ามาขอคำปรึกษาทางโทรศัพท์ยังพบว่า เหล้าเป็นปัจจัยกระตุ้นทำให้เกิดปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กด้วย    นอกจากนี้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวมีสาเหตุมาจากค่านิยมสังคมแบบชายเป็นใหญ่ ที่มีความเชื่อว่าผู้ชายเป็นผู้นำครอบครัว สามีเป็นเจ้าชีวิตภรรยา มีสิทธิดุด่า ทุบตีทำร้าย หรือบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ตามความต้องการของตน ภรรยาจึงตกอยู่ในภาวะจำยอมและจำนน     เนื่องจากเรื่องภายในครอบครัวถูกจัดวางให้เป็นเรื่องส่วนตัว แม้แต่กลไกรัฐ ญาติพี่น้องและผู้ที่อยู่ใกล้ชิด ก็ไม่กล้าเข้ามาช่วยเหลือ ทำให้ผู้หญิงตกอยู่ในภาวะยากลำบาก ไม่กล้าบอกเล่าให้ใครฟัง เพราะทัศนคติที่ถูกสั่งสอนมาว่า เรื่องภายในครอบครัวเป็นเรื่องส่วนตัว น่าอับอาย ไม่ควรนำมาเปิดเผย และมีอคติว่าปัญหาเกิดจากความบกพร่องของฝ่ายหญิงเอง แม้ว่าการกระทำความรุนแรงนั้นจะส่งผลกระทบต่อสภาวะสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้หญิงก็ตาม    นับเป็นเวลากว่า 15 ปี ที่องค์กรภาครัฐและองค์กรผู้หญิงมีความพยายามผลักดันให้เกิดกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องความรุนแรงในครอบครัว เพื่อให้เป็นกลไกหนึ่งของการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว จนเกิดเป็น พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว    พ.ศ.2550 ขึ้น มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2550 พระราชบัญญัติฉบับนี้ มุ่งการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง (ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงและเด็ก) ในด้านการแจ้งความดำเนินคดีโดยมีนักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา ร่วมแจ้งความด้วย          รวมทั้งการบำบัดฟื้นฟูด้านจิตใจ และยังมีมาตรการในการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ โดยการให้ผู้กระทำความรุนแรงได้บำบัดฟื้นฟูด้านจิตใจ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้กระทำความรุนแรง (ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย) ในครอบครัว ให้มีการปรับทัศนคติในการเคารพไม่ใช้ความรุนแรงให้เกียรติกับภรรยาที่เป็นผู้ถูกกระทำ          รวมทั้งยังให้ผู้พบเห็นเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัว ต่างมีหน้าที่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ด้วย เพื่อให้มีการระงับเหตุการณ์ความรุนแรงไม่ให้รุนแรงมากขึ้น          จากการที่มูลนิธิเพื่อนหญิงและเครือข่ายเลิกเหล้า ลดความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก 10 จังหวัด ได้มีการนำ พ.ร.บ. นี้ไปเผยแพร่กับกลุ่มเป้าหมายพบว่า ได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มผู้หญิง แกนนำเครือข่ายผู้ชายที่ได้รับรู้กฎหมายนี้ต่างบอกว่า กฎหมายนี้เป็นกฎหมายที่ดี อยากให้มีการบังคับใช้กฎหมายให้เข้มงวดกว่าที่เป็นอยู่          แต่จากการที่กฎหมายนี้เป็นกฎหมายใหม่ยังใช้มาได้ 1 ปี การเผยแพร่ยังไม่ทั่วถึง พบว่าหน่วยงานที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวยังขาดความเข้าใจ บางส่วนบอกว่าเพิ่งทราบว่ามีการบังคับใช้กฎหมายนี้          เมื่อมูลนิธิเพื่อนหญิงแนะนำให้ผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวไปแจ้งความ (ทั้งในกรุงเทพฯ และพื้นที่ต่างจังหวัดซึ่งเป็นเครือข่ายของมูลนิธิฯ) ก็ต้องนำ พ.ร.บ.ฉบับนี้ไปให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดูด้วย          อีกทั้งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ยังมิได้มีการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ในการรับแจ้งเหตุและระงับปัญหา และออกกฎกระทรวงที่เป็นกฎหมายลูกเพื่อรองรับการปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ทำให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างล่าช้าขาดประสิทธิภาพ          ดังนั้น เนื่องในโอกาสวันที่ 8 มีนาคม วันสตรีสากล กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งได้เปลี่ยนรัฐมนตรีมาบ่อยครั้งตอนนี้ได้รัฐมนตรีใหม่แล้ว ควรรีบทำให้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวให้มีการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ โดยการเร่งประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึงและส่งเสริมสนับสนุนให้กลไกภาครัฐ และกลไกชุมชนประสานความร่วมมือแบบบูรณาการ          รวมทั้งแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และออกกฎกระทรวง เพื่อให้กฎหมายมีความสมบูรณ์และบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก ตามพันธกิจและวิสัยทัศน์ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่ได้ประกาศใช้โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงจะแตกต่างจากผู้ชาย ในแง่ความแข็งแรงทางกายภาพ หรือสรีระ นอกจากนี้ เรายังพบว่าผู้หญิงกับผู้ชาย มีความแตกต่างกันในแง่ของ “วิธีคิด” เพราะโดยส่วนใหญ่ผู้ชายมักถนัด เรื่องมิติสัมพันธ์ เช่น การอ่านแผนที่ พูดง่ายๆ คือ ผู้ชายถนัดคิดจินตนาการเป็นภาพ โดยที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ เป็นเพศที่มีอารมณ์และความรู้สึกอ่อนไหว และถนัดเรื่องของภาษา การใช้คำพูด


 สิทธิเด็กและสตรีสิทธิเด็กมีอะไรบ้าง
อนุสัญญาฉบับดังกล่าวระบุรายละเอียดของสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ ไว้ว่าทุกประเทศต้องรับประกันเด็กในประเทศของตน ได้แก่          

1.  สิทธิในการดำรงชีวิต หรือสิทธิพื้นฐานทั่วไปของเด็ก ครอบคลุมสิทธิในการมีชีวิตอยู่ สิทธิที่จะได้รับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน สิทธิที่จะมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีพอ รวมถึงสิทธิในการมีชื่อและสัญชาติ

2. สิทธิในการได้รับการปกป้องคุ้มครองจากการถูกเอารัดเอาเปรียบทางเพศ การใช้แรงงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพพัฒนาการของร่างกาย สมอง จิตใจ ศีลธรรมและสังคมของเด็กจากการถูกทรมานหรือถูกลงโทษ หรือการกระทำในลักษณะที่โหดร้ายตลอดจนการปกป้องคุ้มครองเด็กที่มีชีวิตอยู่ในภาวะยากลำบาก เช่น เด็กพิการ เด็กผู้ลี้ภัย เด็กกำพร้า เป็นต้น      

 3. สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา ครอบคลุมถึงสิทธิที่จะได้เล่นและพักผ่อน สิทธิที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางวัฒนธรรม สิทธิที่จะได้รับการศึกษาทุกประเภททั้งในและนอกระบบโรงเรียน และสิทธิที่จะมีมาตรฐานความเป็นอยู่เพียงพอกับการพัฒนาร่างกาย จิตใจความรู้สึกนึกคิด ศีลธรรมและสังคม 

4.  สิทธิในการมีส่วนร่วม ครอบคลุมสิทธิในการแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรีในทุกๆเรื่องที่มีผลกระทบต่อตัวเอง สิทธิในการแสดงออกและได้รับข้อมูลข่าวสาร รวมถึงทัศนะของเด็กจะต้องมีการให้ความสำคัญอย่างเหมาะสมอย่างไรก็ตาม ปัญหาเกี่ยวกับเด็กในประเทศไทย ยังคงมีอยู่มากเช่นกัน เป็นต้นว่า ปัญหาด้านการขาดแคลนอาหาร การขาดโอกาสทางการศึกษา การลักลอบค้าเด็ก การใช้แรงงานเด็ก และการแสวงประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ จากเด็ก นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงทาง สังคมและเศรษฐกิจ ทำให้เด็กประสบปัญหาเพิ่มเติม เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาการค้าประเวณี การติดเชื้อเอชไอวี และอัตราการตายของเด็กจากอุบัติเหตุต่างๆ เป็นต้น     สิทธิสตรีไทย    กับ การยอมรับตามกฎหมาย
            ใน ประเทศไทยตั้งแต่สมัยอดีตเรื่อยมาสถานภาพของสตรีไทย ไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม สตรีมักถูกมองเป็นสิ่งที่ด้อยคุณค่า ไร้ความสามารถ ถูกกดขี่ ข่มเหง และกีดกัน ทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และ การเมือง ไม่มีสิทธิ บทบาท ฐานะใดในทางสังคม ไม่ได้รับความเสมอภาคเท่าเทียมผู้ชาย ทั้งที่สตรีเองก็เป็นมนุษย์เช่นเดียวกันกับผู้ชาย และซึ่งสถานภาพความเป็นมนุษย์นั้นมีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคน โดยไม่คำนึงถึง เพศ วัย สัญชาติ ศาสนา ทั้งยังเป็นสาระสำคัญตามธรรมชาติความเป็นมนุษย์ ที่ไม่อาจพราก หรือ ทำให้สูญเสียไปด้วยวิธีการใดๆ การไม่เคารพในสิทธิสตรี ตลอดจนการเลือกปฏิบัติต่อผู้เป็นสตรีนั้นแต่เดิมอาจเป็นเพราะสภาพสังคมสมัย โบราณที่มีการถือปฏิบัติสืบต่อกันมาโดยที่ผู้ชายจะมีความรับผิดชอบในฐานะที่ เป็นหัวหน้าครอบครัว เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้บทบาทของสตรีลดลง ในปัจจุบันนั้นสตรีเองก็ได้รับการศึกษาขั้นสูง มีความสามารถ และ มีบทบาทสำคัญอย่างมากทั้งทางสังคมเศรษฐกิจ และ การเมืองทำให้สิทธิสตรีได้รับการพัฒนา ยอมรับ และคุ้มครองในด้านต่างๆมากมายหลายด้านตามมา